เมนู

สละอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่หมดกำหนัด เป็นที่ดับ คือ นิพพาน
มีอย่างนี้แล อานนท์ การได้สมาธิอย่างนั้น...
ก็แล คำที่เราหมายเอาความที่กล่าวมานี้ ได้กล่าวในปุณณกปัญหาใน
ปารายนวรรคว่า
ความหวั่นไหวในโลกไหน ๆ ของ
ผู้ใดไม่มี เพราะพิจารณาเห็นอารมณ์
อันยิ่งและหย่อนในโลก เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ซึ่งเป็นคนสงบไม่มีโทษดุจควัน ไม่มี
ทุกข์ใจ ไม่มีความหวัง ข้ามชาติและชรา
ได้ ดังนี้
.
จบอานันทสูตรที่ 2

อรรถกถาอานันทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตถารูโป แปลว่า ชนิดนั้น. บทว่า สมาธิปฏิลาโภ
แปลว่า การได้เอกัคคตาแห่งจิต. ในบทว่า อิมสฺมึ จ สวิญฺญาณเก นี้
พึงทราบอธิบายว่า ในร่างกายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งของตน และของคนอื่น
ที่พระอานันทเถระเจ้ากล่าวไว้ว่า อิมสฺมึ (นี้) โดยรวม (ร่างกายทั้งสอง)
เข้าด้วยกัน เพราะมีความหมายว่า เป็นสวิญญาณกะ (มีวิญญาน) เหมือนกัน.
บทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา ได้แก่ กิเลสเหล่านี้ คือ ทิฏฐิ คือ
อหังการ 1 ตัณหา คือ มมังการ 1 อนุสัย คือ มานะ 1. บทว่า นาสฺสุ

แปลว่า ไม่พึงมี. บทว่า พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตสุ ได้แก่ ในนิมิตทั้งหมด
ในภายนอกเห็นปานนี้ คือ รูปนิมิต 1 สัททนิมิต 1 คันธนิมิต 1
รสนิมิต 1 โผฏฐัพพนิมิต 1 สัสสตาทินิมิต
(นิมิตว่า เที่ยงเป็นต้น) 1
ปุคคลนิมิต 1 ธรรมนิมิต 1.
บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ปญฺญาวิมุตฺตึ ได้แก่ ผลสมาธิ และผลญาณ.
บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี. บทว่า อิธานนฺท ภิกฺขุโน ความว่า
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในศาสนานี้.

ลักษณะของนิพพาน



พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงพระนิพพานจึงตรัสว่า เอตํ สนฺตํ
เอตํ ปณีตํ
ดังนี้. ก็นิพพาน ชื่อว่า สันตะ เพราะกิเลสทั้งหลายสงบ. นิพพาน
ชื่อว่า สันตะ เพราะจิตตุปบาทของผู้แอบอิงสมาบัติ โดยคำนึงว่า พระ-
นิพพานเป็นแดนสงบ
แล้วนั่งตลอดทั้งวัน เป็นไปว่า สงบแล้วนั่น
แหละ
ดังนี้บ้าง.
บทว่า ปณีตํ ความว่า นิพพานชื่อว่าประณีต เพราะจิตตุปบาท
ของบุคคลที่นั่งเข้าสมาบัติ ย่อมเป็นไปว่า ประณีต". แม้บทว่า สพฺพสงฺขาร-
สมโถ
เป็นต้น ก็เป็นไวพจน์ของนิพพานนั้นเหมือนกัน.
ก็จิตตุปบาท ของบุคคลผู้นั่งเข้าสมาบัติทั้งวัน โดยคำนึงว่า ความสงบ
แห่งสังขารทั้งหมดดังนี้ ย่อมเป็นไปว่า "ระงับสังขารทั้งปวง" ฯลฯ อนึ่ง
เพราะความไม่มีแห่งตัณหากล่าว คือ เครื่องร้อยรัดไว้ในภพ 3 อันได้นามว่า
นิพพาน จิตตุปบาทของบุคคลผู้นั่งเข้าสมาบัติในนิพพานนั้นย่อมเป็นไปว่า
นิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงได้นามว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นต้น.
ก็ในการพิจารณา คือ การคำนึง ทั้งแปดอย่างนี้ ในที่นี้จะคำนึงอย่างเดียว
ก็ได้ 2 อย่างก็ได้ ทั้งหมดก็ได้เหมือนกัน.